หลวงพระบาง : ฉากหลังของชีวิตริมฝั่งโขง

หลวงพระบาง
ภายใต้ฉากหลังของขุนเขาที่ทอดแนวยาวไม่ต่างจากสายน้ำ มหานทีที่หล่อเลี้ยงผู้คนนับล้าน แม่น้ำโขงหรือแม่น้ำของ ของคนหลวงพระบางก็มีความหมายที่ไม่ต่างกันออกไปมากนัก

หลวงพระบาง

ความยิ่งใหญ่ของสายน้ำสะกดผมภายใต้น้ำสีขุ่นข้น ทั้งสงบนิ่ง เยือกเย็นผมรู้สึกเช่นนั้น แสงสุดท้ายค่อยๆ กล่าวลาผู้คนอย่างเชื่องช้า ผมพบเห็นผู้คนริมฝั่งของ ภายใต้ความสงบเรียบง่ายของเมือง ภายใต้รอยยิ้มและแววตาเหล่านั้น ผมเห็นการต่อสู้ดิ้นรนไม่ต่างกันออกไปกับที่อื่นๆ เพียงแต่ว่าเขาเหล่านี้ทำงานในพื้นที่อันเรียกว่าบ้าน แววตากระหายมันเลยดูไม่รุนแรงเท่าผู้คนเมืองใหญ่ที่เราพบพาน

หลวงพระบางผมตั้งคำถามว่า “เราต้องพยามขนาดไหนเพื่อให้ถึงจุดนั้น” จุดที่เรียกว่าความสำเร็วหรือเส้นสมมุติในโลกที่เราเผชิญหน้า การแข่งขันที่เร่งผลิตผลลัพธ์และ เค้นศักยภาพขั้นสุด (Super productive) เมื่อเราอยู่ในสภาพแวดล้อมของการแข่งขันคงยากที่จะปฏิเสธ แต่ในทางกลับกันผู้คนที่นี่กลับไม่ได้ทำให้ผมรู้สึกว่าชีวิตต้องใช้พลังขนาดนั้น

traveller photographer

ด้วยบริบทที่ต่างกัน การแข่งขันในอัตราที่ต่ำมาก หากจะมีเพียงร้านไม่กี่ร้านเท่านั้นที่เฉิดฉายยามค่ำคืน สิ่งที่ผมค้นพบท่ามกลางแสงไปและ การจากไปของแสงอาทิตย์ในเย็นนี้ดูจะเป็นเพียงหนึ่งในคำตอบเล็กๆ ของเรื่องราวเหล่านี้

หลวงพระบาง

บริบทกำหนดท่าที สังคมที่เราอยู่มีผลโดยตรงต่อเราเป็นอย่างมาก การอยู่ในชุดความคิดของความสำเร็จดูจะเป็นชุดความคิดของคนเมืองเท่านั้น บริบทเมืองที่มีการแข่งขันสูงทำให้คุณต้องพัฒนาตัวเองตลอดเวลา เพราะบริษัทให้คุณค่าของคนที่ผลงาน แต่ในทางกลับกับวันที่คุณกลับบ้าน ดูเหมือนสิ่งที่คุณพยามให้ค่ากลับไม่มีความหมาย เราเป็นเพียง ลูกของแม่ เป็นหลานของลุง เป็นน้าของหลานเท่านั้น บริบทของชนบทให้คุณค่าความสัมพันธ์เสียมากกว่าที่จะมองถึงความสำเร็จอันเป็นปัจเจก (โครงสร้างสังคมชนบนจึงเหนียวแน่นกว่าชุมชนเมืองอันเป็นโครงสร้างเชิงเดี่ยว)

หลวงพระบาง

ความสำเร็จในความหมาย และบริบทของชนบท จึงเป็นความพอใจในความพอดี สิ่งเหล่านี้คงไม่กล่าวเกินไปมากนัก เพราะท้ายที่สุดแล้วเมื่อเขาพอใจในสิ่งที่เป็น และพอดีในสิ่งที่มีบริบท และท่าที่ต่อตัวเองของคนเหล่านั้นก็เปลี่ยนไป ความพอใจในตนเองดูจะเป็นสิ่งขาดหายในสังคมโครงสร้างเชิงเดี่ยวของเมือง เพราะคุณค่าไม่ได้อยู่ที่ตัวเอง และความพอใจต่อตัวเอง แต่กลับผูกค่ากับสังคมและคุณค่าภายนอก จึงไม่แปลกนักที่เรารู้สึกขาดหายอยู่เสมอ เพราะเราไม่ได้รู้สึกถึงคุณค่าภายในที่แท้จริง

หลวงพระบาง

แต่ในทางทฤษฎีเรามีสิ่งที่อธิบายที่เรียกว่า “เส้นขอบฟ้าทางความคิด” การเกิดและเติบโตในชนบทดูเหมือนว่าจะเป็นการขีดเส้นพรหมแดนแห่งความฝันและการมองโลก เพราะสังคมที่เกิดและเติบโตมีอิทธิพลต่อวิธีคิด เช่นว่า การเกิดในสังคมแรงงานความคิดฝันก็ไม่ได้ไปไกลกว่าการมีชีวิตเพื่ออยู่รอดไปวันๆ ภาพฝันของบ้านสวย รถหรู อาหารมื้อค่ำราคาแพงจึงไม่อาจเกิดขึ้นได้จริง และไม่ใช่สิ่งที่เขากล้าจะฝัน จะกว่าจะขยับขั้นลำดับทางสังคม แต่ในทางกลับกันมีคนไม่น้อยที่เติบโตจากจาการเก็บผัก หักฟืนในชนบทและไปเติบโตในเมือง ท้ายที่สุดความเว้าแหว่งในจิตใจก็ทำให้เขากลับมายังจุดเริ่มต้น

หลวงพระบาง

ทฤษฎีอาจไม่ได้อธิบายถึงความขาดหายเหล่านี้ หากมองเพียงทุนทางสังคม จนท้ายที่สุดแล้วเราจึงออกตามหาในส่วนที่ขายหาย ผมครุ่นคิดอยู่ครู่ใหญ่ ก่อนจะตอบคำถามตัวเองว่าผมตามหาสิ่งใด

หลวงพระบาง

คำตอบนั้นแสบง่ายดายเมื่อผมผ่านชีวิตมาช่วงเวลาหนึ่ง แต่มันกลับยากเหลือเกินในวันที่ชีวิตเต็มไปด้วยคำถาม เพียงกินอิ่ม นอนหลับ มีความสุขกับผู้คน และสิ่งรอบข้างก็เพียงพอแล้วสำหรับการมีชีวิต มันเป็นการกลับมาหาคุณค่าจากภายในสำรวจเบื้องลึกของจิตใจ และจิตของผู้ให้กลับยิ่งใหญ่กว่าการได้รับ และตักตวงจากผู้อื่นอย่างมหาศาล

แต่คำตอบนี้ไม่อาจเพียงพอเมื่อคุณตกอยู่ภายใต้กรอบคิดของการตลาดที่ครอบคุณให้อยากมี และกลัวในความไม่แน่นอนของชีวิต แก่นคุณค่าของชีวิตจึงต่างออกไป