การกลับมาของ วิปัสสนา-ภาชนะ

เมื่อชีวิตที่ดำรงอยู่กำลังสื่อสารกับเราถึงความไม่แน่นอน วันนี้เราพาเพื่อนๆมาชมงานศิลปะที่ วัดอุโมงค์ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นสถานที่ที่ มณเฑียร์ บุญมา ผู้ล่วงลับได้สร้างสรรค์ไว้เมื่อ 27 ปีก่อน ในผลงานชื่อ “วิปัสสนา-ภาชนะ” และผลงานชิ้นนี้ถูกนาวินและทีมงานนำกลับมาจัดแสดง เพื่อรำลึกถึงอาจารย์ และกำลังบอกเตือนเราผ่านงานศิลปะว่า “ขณะที่เรากำลังมีชีวิตทุกอย่างเต็มไปด้วยความไม่มั่นคง ความไม่แน่นอน” นี่จึงเป็นเหมือนงานปริศนาธรรมที่กำลังสื่อสารกับผู้คนอย่างน่าสนใจ

กำแพงรูปทรงวงกลมสูง 24 ชั้น ที่สร้างขึ้นจากชามดินเผากว่า 600 ใบ โอบล้อมอยู่ภายใต้เงาไม้อันร่มเย็น พร้อมที่นั่งพักให้ผู้มาเยือนได้เฝ้าพิจารณา การบรรจงเรียงนอกจากสื่อแทนสมาธิอันแน่วแน่แล้ว ความตั้งมั่นที่ทำให้เกิดสมดุล ยังเทียบได้กับการบำเพ็ญเพียรเพื่อบรรลุธรรม ท่ามกลางความไม่แน่นอนของชีวิต

Underneath shady trees on the temple’s grounds rose a circular, walled enclosure composed of more than 600 terracotta bowls stacked up in 24 alternating rows, offering passers-by a place to sit in contemplative rest. The painstaking arrangement of the bowls showed unwavering mental focus and comparison could be drawn between the resolve to keep them in a state of balance and the effort to attain dhamma amidst life’s uncertainties. Embodying a moment of peace and stillness, the structure made of bowls also symbolized the world of the living shackled by consumption. Meanwhile, scattered on the ground as if part of the natural surroundings were steel chopsticks, resembling human finger bones, that held up napkins with imprints of mouth and teeth. Evocative of both a feast for hungry souls and the grasping for material things, they reminded viewers that the material world is chaotic and agitating.


การเรียงซ้อนของชามดินเผาเปรียบเสมือนชั่วขณะอันสงบนิ่ง สื่อถึงโลกของคนเป็นที่ยึดติดกับการบริโภค ตะเกียบโลหะคล้ายกระดูกนิ้วคน คีบผ้าเช็ดปากที่พิมพ์ร่องรอยของปากและฟัน ติดตั้งกระจายเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ อาจเปรียบได้ดั่งการจัดเลี้ยงแด่ดวงวิญญาณที่หิวโหย หรือการไขว่คว้า กอบโกย นับเป็นการเตือนตนให้ตระหนักถึงชีวิตทางโลกที่รุ่มร้อนและวุ่นวาย

Alternately upright and inverted, the bowls represented the dichotomy between the path to extinction – which the artist equates with hunger – and the path chosen by the Buddha during his extreme self-mortification in search of enlightenment. A state of balance offers a way out of the conflict between the self and liberation. The wall comprised of vessels with small gaps between them provoked both doubt and a sense of insecurity, the danger of a collapse imminent at any moment. The space within the enclosure contained a multitude of chopsticks – some reduced to charred wood and ashes, others holding up crumpled drawings of skulls which the artist photocopied from an anatomy textbook he consulted during the work’s research phase.

ส่วนชามที่คว่ำหงายสลับกัน แทนคู่ตรงข้ามระหว่างเส้นทางสู่การดับสูญ ซึ่งศิลปินได้อ้างถึงความหิวโหย กับการค้นคว้าหาทางตรัสรู้ ยามพระพุทธเจ้าบำเพ็ญทุกกรกิริยา ความสมดุลคือทางออกจากความขัดแย้งระหว่างตัวตนกับการหลุดพ้น กำแพงภาชนะที่เว้นช่องว่างเล็กน้อย ปลุกทั้งความสงสัยกับความรู้สึกไม่มั่นคง พร้อมพังทลายในทุกเมื่อ พื้นที่ภายในกำแพงที่ปิดกั้น ยังประกอบด้วยตะเกียบมากมาย บ้างก็เผาไหม้ปะปนเถ้าถ่าน บ้างก็คีบก้อนกระดาษที่ขยำภาพวาดกะโหลกศีรษะ ซึ่งศิลปินได้ถ่ายสำเนาจากตำรากายวิภาคมนุษย์ ขณะที่นำมาใช้ศึกษาเพื่อสร้างผลงานของเขาในช่วงเวลานั้น

ผลงาน “วิปัสสนา-ภาชนะ” ชิ้นนี้ถูกสร้างขึ้นใหม่อีกครั้งตามต้นฉบับ โดยติดตั้งในตำแหน่งเดิม เมื่อ 27 ปีก่อน ซึ่งมณเฑียรเคยร่วมแสดงในเทศกาลศิลปะของกลุ่ม ‘เชียงใหม่จัดวางสังคม’ ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2536 โดยการริเริ่มของกลุ่มศิลปินในเชียงใหม่และนักศึกษาศิลปะที่มณเฑียรใกล้ชิด การร่วมกิจกรรมครั้งแรกนั้น เขาได้นำเสนอผลงานภายในพื้นที่วัดอุโมงค์เช่นกัน โดยนำประติมากรรมดินเผารูปทรงบาตรไปลอยในสระน้ำของวัด ด้านบนฝาบาตรที่ปิดดั่งทุ่นลอยน้ำ ยังประกอบด้วยเลนส์แว่นขยายที่รวบรังสีของแสงให้รวมกันจนเข้มข้น เปรียบกับการเพ่งมองในการปฎิบัติวิปัสสนา แต่ท้ายสุดผลงานได้จมน้ำหายไป อันแสดงถึงความไม่เที่ยง

ข้อมูลจาก : Navin Production – studiok