Surf is not a fashion

พลังของธรรมชาติดูเหมือนว่าจะมีพลังดึงดูด และบำบัดผู้คน แต่นั่นก็หมายรวมถึงความเกรี้ยวกราดของธรรมชาติด้วยเช่นกัน แต่ใช่ว่าทุกคนจะเข้าถึงพลังเหล่านี้ ทว่าก็มีคนไม่น้อยที่เปิดรับพลังของธรรมชาติด้วยความเต็มใจ ทั้งชื่นชม สยบยอม และรื่นเริงไปกับพลังอันเกรี้ยวกราดนี้

มีผู้คนไม่น้อยที่หลงไกลในการเล่นกระดานโต้คลื่น จาก Body Surf รากฐานดั้งเดิมของการโต้คลื่นความท้าทายระหว่างธรรมชาติ และมนุษย์ สู่การโต้คลื่นอันมีวัสดุแบบแผน และนี่เป็นครั้งแรกที่ผมได้สัมผัสพลังของธรรมชาติ และการเรียนรู้ชีวิตไปพร้อมกับกระดานโต้คลื่น

Surf is not fashion

ภาพการเล่นกระดานโต้คลื่นปรากฎขึ้นหน้า Feeds Facebook ราวกับว่าเป็นเรื่องง่ายดาย ใครๆก็บอกว่าตัวเองเล่นเซิร์ฟได้ นั่นเป็นความความเข้าใจของผมเองที่ไม่ค่อยจะแน่ใจนัก แต่การได้มาร่วมงาน Phuket Surf Fest 2019 ดูจะพาความเข้าใจผมออกไปไกลมา

ในงานเต็มไปด้วยนักโต้คลื่นจากที่ต่างๆ แต่ความน่าประหลาดใจคื อส่วนใหญ่แล้วเป็นเด็กอายุสิบกว่าขวบ และมีนักโต้คลื่นรุ่นพี่ รวมถึงชาวต่างชาติรุ่นแรกๆ ที่มาโต้คลื่นที่ภูเก็ต

การโต้คลื่นสำหรับผมในตอนนี้ดูเหมือนว่าจะเป็นสังคมเสียมากกว่า ไม่มีใครจ้องจะอวดภาพถ่าย ไม่มีคนอวดกระดานโต้คลื่นของตัวเอง ทุกคนเป็นพี่น้องที่ช่วยเหลือกัน ช่วยกันแนะนำโต้คลื่นได้ดีขึ้น  แบ่งปันข้อมูล แบ่งปันความรู้กับคนหน้าใหม่ที่เพิ่งเดินทางมาถึงอย่างผม นี่คือชุมชนของคนที่รักในพลังของธรรมชาติเช่นนี้

ระหว่างพี่อยู่ในทะเลพี่มักได้ความคิดดีๆ เสมอ – Dade Decha Surf instructor

Basic to surf

การเรียนรู้พื้นฐานเป็นสิ่งที่หลายคนมองข้าม แต่มีความสำคัญมากสำหรับการโต้คลื่น เพราะไม่ว่าจะคลื่นเล็กหรือใหญ่นั่นคือชีวิต และแผ่นกระดานโต้คลื่นเท่านั้น หากเรามัวกังวลถึง Bikini ชุดสวยและ ภาพถ่ายจากการเล่น แน่นอนว่าคลื่นจะซัดคุณจน Bikini หลุด และคว่ำไม่เป็นท่า แต่นั่นอาจหมายถึงชีวิตเช่นกัน

การได้ลงเรียนกับ Instructor (ผู้สอน) ที่มีความรู้และผ่านการรองรับมาตรฐานสากล ดูจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด ผมเรียนกับพี่เดย์ Surf Instructor ที่ผ่านมาตรฐานสากลอย่าง  ISA (INTERNATIONAL SURFING ASSOCIATION) เราเริ่มเรียนตั้งแต่การจับกระดานโต้คลื่นลงน้ำ (ลืมภาพเท่ห์ๆ ที่ไม่ปลอดภัยไปได้เลย) การเซ็ตร่างกายบนกระดาน การว่ายน้ำไปหาคลื่น การเลือกคลื่น และความปลอดภัยเมื่อเราจมลงน้ำ

Step to surf

1. แพดเดิลเอาต์ (Paddle Out) เป็นการนอนอยู่บนกระดานโต้คลื่น และใช้มือพายออกไปในทะเล ซึ่งก่อนจะถึงขั้นตอนนี้ เราต้องเริ่มจากการเซ็ตรางกาย หาสมดุลบนบอร์ดก่อน ขั้นตอนนี้จำเป็นต้องใช้พลังแขนในการฝ่าคลื่นออกไปถึงจุดไลน์อัพ (จุดรอคอยคลื่น) ซึ่งครูจะลงรายละเอียดไปจนถึงการใช้กำลังแขนแบบไหนไม่ให้เหนื่อย และการหันไปมองคลื่น

2. ไลน์อัพ (Line Up) จุดที่คลื่นเริ่มแตกตัว ซึ่งจะมีทั้งทิศทางซ้าย และทิศทางขวา ผู้เล่นจะต้องคอยสังเกตให้ดี เนื่องจากจุดไลน์อัพในแต่ละสถานที่ก็จะแตกต่างกัน ตามมารยาทแล้วเราไม่ควรแย่งกันเล่นคลื่นลูกเดียวกันเพราะอาจเกิดเหตุชนกันได้

3. เทกออฟ (Take Off) เมื่อตัดสินใจเลือกคลื่นแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการจับคลื่น โดยทำการสังเกตคลื่น และพายสร้างความเร็วให้กับกระดานโต้คลื่นเพื่อจับคลื่น แต่แน่นอนว่าในขั้นต้นเราแทบมองคลื่นไม่ออกว่าลูกไหนควรเล่น ลูกไหนไม่ควรเล่น พี่จ้อ Instructor ตอนผมลงน้ำพูดว่า

คลื่นที่ดีไม่จำเป็นต้องเป็นคลื่นที่ใหญ่

สิ่งที่ผมควรทำคือสังเกต รอคอย และเรียนรู้กับทุกคลื่นที่เข้ามา เพราะคลื่นภูเก็ตบางครั้งมาทางซ้าย บางครั้งก็มาทางขวา

4. สแตนด์อัพ (Stand Up) การยืนบนกระดานโต้คลื่น โดยผู้เล่นต้องยืนทรงตัวให้ดี ในขั้นตอนนี้เกิดขึ้นในเสี้ยววินาที การจัดการร่างกายในตอนต้นจึงสำคัญมากๆ และถ่ายน้ำหนักเพื่อกำหนดทิศทาง ยังเป็นอีกเรื่องที่ขาดไม่ได้

ก่อนจากกันมีคำพูดหนึ่งพี่พี่เดย์ Instructor ผมกล่าวไว้ว่า “บางคนอาจไม่ได้เกิดมาเพื่อเป็นนักกีฬาอาชีพ แต่การเล่น Freestyle อาจจะมีความสุขกว่า” ผมว่ามันสำคัญมากๆ ตรงที่ เราสามารถสัมผัสถึงความสุขได้ด้วยกิจกรรมที่เราหลงไหล และไม่จำเป็นว่าเราต้องถึงยอดเขาแห่งความสำเร็จเสมอไป

ดูเหมือนว่าการโต้คลื่นจะเชื่อมโยงกับวิถีชีวิต และการมองโลกอย่างแยกไม่ออก แน่นอนว่าแต่ละคนย่อมมีคำตอบที่ต่างกัน แต่นั่นเป็นราวของขวัญล้ำค่าที่การโต้คลื่นและทะเลมอบให้เรา

ในตอนต่อไปผมจะมาเล่าถึงของขวัญจากทะเลกัน แล้วเจอกันนะ

ขอขอบคุณ

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภูเก็ต
Roxy thailand
Bangkok Airway
FB : Andaman Sea Surf,Phuket/Thailand
Website : Andaman Sea & Surf Hotel
Tel : 089 973 2161